ใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล

ประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล
ประเพณีเข้าอินทขิลหรือ พิธีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิลจะจัดขึ้นทุกปีเมื่อล่วงเข้าสู่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน ของจังหวัดเชียงใหม่ในวันประกอบพิธี พวกชาวบ้านชาวเมืองทั้งหนุ่มสาว คนเฒ่าคนแก่ และเด็ก ๆ จะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน ขันน้ำขมิ้นส้มป่อย ใส่พานหรือภาชนะใส่ของที่เรียกว่า "สลุง" เอาน่ำขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือสลุงไป "ท้าการสระสรง" (สรงน้ำ) สักการบูชาที่วัดเจดีย์หลวงและในระหว่างการ "บูชาเสาอินทขิล" ชาวบ้านจะจัดให้มีซอพื้นเมืองและมีช่างฟ้อนประเภท ฟ้อนหอก ฟ้อนดาบ เพื่อเป็นการสังเวยเทพยดาอารักษ์ "ผีเสื้อบ้าน" และ "ผีเสื้อเมือง" หรือที่ภาษาทางเหนือโบราณ เรียกกันว่า "เจนบ้านเจนเมือง" และเมื่อถึงก้าหนดพิธีนี้ทุก ๆ ปีพวกช่างซอที่อยู่ในเมืองเชียงใหม่ทุกคนจะต้องเดินทางมาร่วมกันที่งานบูชาเสาอินทขิลและผลัดกันซอเป็นพลีกรรมถวายการบูชาอินทขิลของชาวเมืองเชียงใหม่นั้น ได้ประพฤติปฏิบัติกันมาอย่างเป็นระบบระเบียบเรียบร้อยทุกปีมา ด้วยการแต่งกายที่เป็นพื้นเมืองอันเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่และเป็นความงามสง่า ในส่วนของวัตถุสิ่งของที่น้ามาบูชาก็ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของความสูงค่าที่เกิดจากแรงศรัทธา คารวะของชาวเชียงใหม่
โดยค้าว่า “อินทขิล” แปลว่าหลักเมือง ประวัติของเสาอินทขิลคราว ๆ คือพื้นที่เมืองเชียงใหม่ในอดีต เป็นที่อยู่ของพวกลัวะ ซึ่งได้สร้างเมืองขึ้นชื่อว่า “เมืองนพบุรี” ชาวลัวะเป็นผู้อยู่ในศีล ในธรรม พระอินทร์จึงบันดาลให้มีบ่อแก้ว บ่อเงิน บ่อทอง เกิดขึ้นในเมือง ชาวเมืองไม่ต้องท้ามาหากิน แค่เอาแก้ว เงิน ทอง ในบ่อไปขายก็ใช้ชีวิตกันได้อย่างสุขสบาย เมื่อข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีเมืองต่าง ๆ อยากจะยึดเมืองนพบุรีเป็นของตน พระอินทร์จึงใช้ให้กุมภัณฑ์ 2 ตน น้าเสาอินทขิลใส่สาแหลกลากลงมาฝังไว้ที่เมืองนพบุรี เสาอินทขิลมีฤทธิ์ท้าให้ข้าศึกกลายเป็นพ่อค้า เมื่อพ่อค้าเหล่านั้นเข้ามาในเมืองและมาขอแก้ว เงิน ทอง จากชาวบ้าน ชาวบ้านก็บอกให้พ่อค้าเหล่านั้นตั้งจิตอธิฐานแล้วจะได้สิ่งที่ต้องการ แต่ต้องอยู่ในศีลธรรม ผู้ที่อยู่ในศีลธรรมก็จะได้อย่างที่อธิฐาน แต่ก็มีผู้ที่ไม่อยู่ในศีล ในธรรม และไม่บูชากุมภัณฑ์ 2 ตนที่เฝ้าเสา กุมภัณฑ์จึงยกเสากลับสวรรค์ไป ต่อมามีค้าท้านายว่าบ้านเมืองจะเกิดภัยภิบัติ ชาวเมืองต่างหวาดกลัว เรื่องนี้ทราบถึงพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้ชาวเมืองสร้างเสาอินทขิลจ้าลองขึ้นและให้ท้าพิธีสักการะบูชาให้เหมือนเสาอินทขิลของจริงที่อยู่บนสวรรค์ บ้านเมืองจึงจะพ้นจากภัยพิบัติ เมื่อชาวเมืองกระท้าตาม บ้านเมืองก็สงบและเจริญรุ่งเรืองสืบมา
สมัยเมื่อ 200-300 ปีก่อน เสาอินทขิลอยู่ที่วัดสะดือเมือง จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ย้ายมาไว้ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหารซึ่งจะเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับความเชื่อของคนโบราณโดยจัดขึ้นเป็นประจ้าทุกปีที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดส้าคัญเก่าแก่วัดหนึ่งและมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างเมืองเชียงใหม่มา ตั้งแต่อดีตวัดเจดีย์หลวงเป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์มังรายซึ่งครองราชอาณาจักรล้านนาไทย ชาวเชียงใหม่เชื่อว่า เมื่อสักการะบูชาเสาอินทขิลแล้ว บ้านเมืองจะพ้นภัยพิบัติและมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น จึงเป็นประเพณีสักการบูชามาจนถึงทุกวันนี้
ขอบคุณภาพจาก http://student.nu.ac.th/kyu/page3.html




กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นสมาชิก
2,209
ครั้งแก้ไขล่าสุดวันที่ 01/03/2559 16:22:07
-
“เที่ยวเชียงราย....สบายกระเป๋า”
-
พิธีลงจอบ สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ
-
เทศกาลดินแดนแสนดอกไม้
-
ที่มา ประเพณียี่เป็ง
-
ThaiLandStandupChalleng บอกให้โลกรู้ว่า รักเมืองไทยที่สุดเลย
-
1 พ.ย. 58 น้ำตกทีลอซู เผยโฉมความงามสุดยิ่งใหญ่อลังการ
-
ประวัติถนนสายต้นยาง
-
Time To Travel 2015 งานเดียว...เที่ยวทั่วโลก
-
งานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี 2559
-
"นุ่งเมือง กิ๋นข้าวแลง แยงงานศิลป์"
-
รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ปีใหม่เมือง
-
สำนักสงฆ์กลางเขื่อนแม่งัด