ที่เที่ยว / เที่ยวเชิงวัฒนธรรม / ลำปาง
วัดศรีรองเมือง





::เครดิตรูปภาพจาก: http://pantip.com/topic/31642118
วัดศรีรองเมือง
เป็นวัดพม่าอีกวัดหนึ่งในจังหวัดลำปางที่มีความงดงามมาก ตั้งอยู่ที่บ้านท่าคราวน้อย ตำบลสบตุ๋ย ในเขตอำเภอเมืองลำปาง ตามประวัติความเป็นมาของวัดศรีรองเมืองนั้น กล่าวกันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 โดยคหบดีชาวพม่าที่เข้ามาทำไม้ในเมืองลำปาง โดยใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ 7 ปี ภายในวัดนี้มีทั้งวิหารใหญ่และวิหารน้อย สำหรับวิหารน้อยนั้นมีอยู่ถึง 9 หลัง แต่ปัจจุบันวิหารน้อยเหล่านั้นปรักหักพังไปจนหมดสิ้น จึงเหลืออยู่เพียงวิหารใหญ่ซึ่งเป็นวิหารประธานของวัดเพียงหลังเดียว สำหรับวิหารศรีรองเมืองนี้เป็นอาคาร 2 ชั้น มีหลังคาซ้อนกันแบบพม่า ส่วนที่เป็นชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนบนทำด้วยไม้ พระพุทธรูปประธานประดิษฐานอยู่ที่เรือนยอด ซึ่งตั้งอยู่ตรงจุดกึ่งกลางของอาคาร
ภายในวิหารชั้นบนซึ่งเป็นเรือนไม้นั้นมีเสากลมใหญ่เรียงรายกันอยู่หลายต้น แต่ละต้นประดับประดาลวดลายจำหลักไม้และกระจกสีแวววับงดงาม สำหรับบนอาคารวิหารวัดศรีรองเมืองนี้ค่อนข้างจะมีแสงสว่างน้อย แต่ก็ไม่ถึงกับมืดด้วยมีแสงสว่างของกระจกสีที่ประดับตกแต่งอยู่ทั้งบนเพดานและรอบเสาสะท้อนแสงออกมากการประดับตกแต่งกระจกสีที่วัดศรีรองเมืองนั้นสวยงามจับใจมาก มีทั้งสีเขียว ขาว ชมพู น้ำเงินและเหลือง สะท้อนแสงสีวูบไหวล้อแสงแดดที่สาดเข้ามาจากภายนอกซึ่งบางครั้งก็จัดจ้า แต่บางคราก็อ่อนเบา ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าแสงจากกระจกสีเหล่านั้นกำลังเคลื่อนไหวร่ายรำหลอกล้อกันไปมาความงามสง่าน่าทึ่งของวัดศรีรองเมืองมิใช่อยู่เพียงที่ชิ้นส่วนกระจกสีซึ่งประดับประดาแวววาวอยู่ตามเสาวิหารเท่านั้น บนเพดานของอาคารพม่าหลังนี้ก็มีสิ่งวิจิตรล้ำเลิศแพรวพราวอยู่เต็มไปหมด เพดานวัดศรีรองเมืองแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมล้อมรอบด้วยกรอบซึ่งประดิษฐ์เป็นลายดอกไม้ ศูนย์กลางของกรอบแต่ละกรอบประดับด้วยรูปจำหลักลงรักปิดทองงดงามตระการตาเป็นอย่างยิ่งจุดเด่นของศิลปกรรมพม่าที่วัดศรีรองเมืองยังอยู่ที่ลวดลายฉลุโลหะและไม้ที่ประดับอยู่ตรงเชิงชายของหลังคาแต่ละชั้น สำหรับลวดลายที่ฉลุด้วยแผ่นโลหะบางๆ นั้น นอกจากจะให้ความงามในเรื่องช่องไฟและการประดิษฐ์แล้ว ยังให้ความรู้สึกอ่อนไหวราวกับลวดลายเหล่านั้นสามารถพลิ้วไหวไปตามลมปัจจุบันวัดศรีรองเมืองมีอายุครบ 100 ปีแล้ว สภาพสิ่งก่อสร้างได้ทรุดโทรมตามกาลเวลา โครงหลังคา ฝังเพดานและเสาที่มีความสวยงมดังเนรมิต มีสภาพผุพัง แตกร้าว และทรุดหลายแห่ง ซึ่งวัดนี้กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติทางวัดจึงต้องใช้เวลาและความสามารถของสถาปนิกในการบูรณปฏิสังขรณ์ให้คงสภาพเดิมโดยเร็วซึ่งต้องใช้งบประมาณำนวน 15 ล้านบาท
ประวัติความเป็นมาของวัดศรีรองเมือง
วัดศรีรองเมืองมีความงดงามมาก พระวิหารสร้างด้วยไม้สักทอง มีครอบครัว 9 ครอบครัว ผู้ศรัทธาได้ร่วมกันก่อสร้างวัดศรีรองเมือง
ครอบครัวที่ 1 จองตะก่าวารินต๊ะ แม่จองตะก่าจันทร์แก้ว มณีนันทร์
ครอบครัวที่ 2 จองตะก่าปันจุม แม่จองตะก่าคำแปง มณีนันทร์
ครอบครัวที่ 3 จองตะก่าจองส่างอ้าย แม่ตะก่าจันทร์คำ มณีนันทร์
ครอบครัวที่ 4 จองตะก่าอินต๊ะ แม่จองตะก่าคำออน ศรีสองเมือง
ครอบครัวที่ 5 จองตะก่ากันทะมา แม่จองตะก่าปันจุม ไม่ทราบนามสกุล
ครอบครัวที่ 6 จองตะก่ากันที แม่จองตะก่าจันทร์เป็ง ไม่ทราบนามสกุล
ครอบครัวที่ 7 จองตะก่ากันทา แม่จองตะก่าบัวคำ ไม่ทราบนามสกุล
ครอบครัวที่ 8 จองตะก่าจองวุ่นนะ แม่ตะก่าบัวแก้ว ไม่ทราบนามสกุล
ครอบครัวที่ 9 จองตะก่านันตาน้อย แม่จองตะก่าคำเอ้ย
แม่จองตะก่าคำมูล นันตาน้อย
คำว่าจองตะก่าแปลว่าผู้ศรัทธาพระพุทธศาสนา
สถานที่ตั้งปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 80 ท่าคราวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ทั้งหมด 10 ไร่ 3 งาน 92 ตารางเมตร วัดศรีรองเมือง ชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกว่า (ชาวพม่าเรียกว่าท่าคะน้อยจอง) วัดศรีรองเมืองเริ่มสร้างใน พ.ศ. 2448 โดยช่างชาวพม่าเมืองมัณฑเลย์เป็นผู้ออกแบบก่อสร้างและแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2455 ใช้เวลาสร้าง 7 ปี โดย 9 ครอบครัวผู้ที่ศรัทธาในพุทธศาสนาพร้อมด้วยพ่อค้าประชาชนในสมัยนั้น การสร้างวัด ในสมัยโบราณหรือในปัจจุบันนี้ก็ดี การสร้างวัดแต่ละแห่งหรือแต่ละที่นั้นต้องขออนุญาตเป็นสำนักพักสงฆ์ (สำนักสงฆ์) เสียก่อน หลังจากที่ได้สร้างกุฏิ วิหาร อุโบสถและอื่น ๆ เสร็จตามขั้นตอนแล้วจึงของอนุญาตเป็นวัดอันสมบูรณ์ได้ วัดศรีรองเมืองก็เช่นเดียวกัน ก่อนนั้นชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายเรียกวัดว่าศรีรองเมือง สำนักสงฆ์ศรีรองเมืองหรือศรีสองเมือง โดยสร้างเป็นกุฏิเล็ก ๆ หลายหลังมุงด้วยหญ้าหรือใบตองตึงประมาณนั้น และได้สร้างเวจกุฏีหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าสงฆ์โบราณ หรือ สุขาโบราณทำนองนั้น สร้างไว้ประมาณ 4-5 หลังพระก็ใช้ส้วมพระเณรใช้ส้วมของเณร ส่วนเจ้าอาวาสก็มีอีก 1 หลัง โดยที่ไม่ได้ประปนกันเป็นสัดส่วนของใครของมัน ต่อมาเมื่อสร้างวิหารเสร็จแล้ว ก็นิมนต์พระภิกษุและสามาเณรทั้งหลายไปอยู่ที่วิหาร จากนั้นได้ทำการรื้อถอนกุฏิเล็กออกจนหมดแล้วคงไม้เพียงแต่ส้วมโบราณเท่านั้น พอมาถึงยุดท่านเจ้าอาวาส องค์ที่ 3 ท่านได้มรณภาพลง เมื่อถึงวันประชุมเพลิงก็ได้จัดการก่อตั้งเมรูชั่วคราว โดยการประชุมเพลิงทั้งเมรุและศพ ท่านไปพร้อมกัน แต่สถานที่เห็นว่าตรงนั้นและที่กว้างขวางดีและอีกประการหนึ่งส้วมที่ทันสมัยกว่านั้นก็ได้สร้างขึ้นมาใช้แล้วแทนส้วมเก่าโบราณที่ปลวกกินจนแทบจะหมดอยู่แล้ว จึงได้ทำการรื้อถอนออกไปเสีย เหลือเพียงหลังเดียวเท่านั้น (สมัยนั้นกรมศิลปกร ยังไม่จดทะเบียนรับรอง) จากการบอกเล่าของผู้เฒ่าที่ชีวิตไปแล้ว ก่อนท่านจะเสียชีวิตนั้นท่านได้เล่าให้ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้ฟังว่า เมื่อสมัยก่อนนั้นจะตั้งชื่อวัดศรีรองเมือง ตามที่เจ้าอาวาสสคมผู้เป็นประธานใหญ่ในการถวายที่ดินจำนวนมากที่สุด ซึ่งได้แก่ จองตะก่า อินต๊ะ แม่จองตะก่า คำออน นามสกุล ศรีรองเมือง นั้นเอง อาจจะคิดว่าชาวพม่าเมืองหนึ่งและไทยอีกเมืองหนึ่งก็เป็นได้จึงได้ว่า วัดศรีรองเมือง ก่อนที่จะมาเป็นวัดศรีรองเมืองในปัจจุบันนี้ หนึ่งนั้นถึงจะแยกประเทศแต่ไม่ได้หมายความว่าจะแยกศาสนา อีกประการหนึ่งกล่าวว่าคฤหบดีชาวพม่าในสมัยนั้นที่ได้มาทำงานใน บริษัท บอมเมย์เบอร์ม่า ที่มีนาย เยมส์ หรือชื่อไทยว่า นาย บุญยงค์ จันทน์เกสร มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการในสมัยนั้น เป็นชาวอังกฤษ และเป็นหนึ่งในสี่บริษัทได้รับสัมปทานทำไม้สักในจังหวัดลำปาง ให้เหตุผลกล่าว ในสมัยนั้นมีคฤษบดีชาวพม่าที่มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากและท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้ร่วมแรงร่วมใจ แบบสามัคคีธรรม ร่วมกันลงขันได้จำนวน 9 ครองครัวที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น คำจารึกตอนเสาเอกสร้างวิหาร เป็นอักษรที่บันทึกไว้ที่หน้าห้องเจ้าอาวาสที่ความว่า จุลจักราช 1267 วันพฤหัสบดี ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ ขึ้น 15 ค่ำ ตอนเช้า ตี 1 ตั้งเสาเอกสร้างพระวิหารศรีรองเมือง หรือตรงกับปี พ.ศ. 2448 ในสมัยปัจจุบันนี้
พระพุทธรูปไม้สักทอง
พระพุทธรูปไม้สักทองปางมารวิชัย ศิลปะพม่า สมัยตอนปลาย ร.5 หน้าตักกว้าง 185 ซ.ม. ความสูง 283 ซ.ม. จองตะก่า อินต๊ะ แม่จองตะก่า คำออน ศรีสองเมือง กับพักพวกและชาวบ้าน ได้ว่าจ้างช่างชาวเมืองมัณฑเลย์ประเทศเมียนม่า มาทำการแกะสลักเป็นพระพุทธรูปพระประธาน อันเชิญขึ้นประดิษฐาน ถวายไม้ในพระวิหารวัดศรีรองเมืองมาถึงปัจจุบัน
ที่มาพระพุทธรูปไม้สักทอง
พระพุทธรูปไม้สักทองมีประวัติโดยย่อ เล่ากันมาดังนี้ เมื่อสมัยก่อนได้มีชาวบ้านพบท่อนซุงอันใหญ่ลอยแม่น้ำมาติดอยู่ที่ท่าน้ำข้างวัด ชาวบ้านจึงให้ช้างเผือกหลายเชือกชักลากขึ้นมาไว้ในบริเวณวัด บังเอิญมีผู้สนใจดูท่อนซุงอันใหญ่โตมโหฬารกันเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังมีการจุดธูปเทียนขอโชคลาภต่างๆ นา ๆ ตามความเชื่อของแต่ละคน เผอิญขณะที่ชาวบ้านกราบไหว้จุดธูปเทียนได้บังเกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก แต่ธูปเทียนที่ชาวบ้านจุดกันไว้ไม่ดับ จึงเชื่อกันว่าท่อนซุงใหญ่อันศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปโลหะนั่งสมาธิปางมารวิชัย ศิลปะพม่าลงรักทาทอง หน้าตักกว้าง 56 ซ.ม. สูง 77 ซ.ม. ฐานไม้แกะสลักตัดกระจกสวยงามอลังการแบบสมัยโบราณมัณฑะเลย์ ศิลปะเมียนมาร์ พ่อเลี้ยงคำมั่น มณีนันทร์กับพวกทั้งหลายร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถวายใน พ.ศ. 2454 จนถึงปัจจุบัน
ข้อมูลจาก http://www.lpc.rmutl.ac.th/burmesetemple/index.php?option=com_content&view=article&id=49&Itemid=58
TAGS:

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็นสมาชิก
653
Viewsแก้ไขล่าสุดวันที่ 07/02/2558 11:41:31
แผนที่

ข้อมูลการติดต่อ
ตำบล สบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง
การเดินทาง
เจ้าของบทความ
2 บทความ
อ่านบทความอื่นๆ